ส่งงาน แผ่นพื้นสำเร็จรูป ต.กลาง อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
สิงหาคม 29, 2022ส่งงาน ชุดกำแพงกันดิน ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
กันยายน 5, 2022
รู้จักวิธีการตอกเสาเข็มแต่ละแบบ พร้อมข้อดี-ข้อเสีย
เสาเข็ม เป็นที่ทราบกันดีว่า มีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างบ้าน มีหน้าที่หลักช่วยค้ำยันและรับน้ำหนักโครงสร้างบ้านทั้งหมด วันเอ็มคอนกรีต ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ วิธีการตอกเสาเข็ม พร้อมข้อดี-ข้อเสียของแต่ละวิธี ว่ามีอะไรบ้าง? เพื่อประกอบการตัดสินใจ และการเลือกใช้งานให้เหมาะสม
วิธีการตอกเสาเข็ม มี 2 รูปแบบ
1. เสาเข็มแบบตอก
เสาเข็มที่ใช้วิธีการตอก มีทั้งเสาไม้ เสาเหล็ก เสาคอนกรีต แต่โดยส่วนมากแล้ว เสาคอนกรีตจะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากราคาประหยัดกว่าเสาเหล็ก และมีความแข็งแรงทนทานมากกว่าเสาไม้ เสาคอนกรีตอัดแรงยังได้รับความนิยมสูง เนื่องจากหน้าตัดเล็ก ทำให้เวลาตอกเสาเข็ม ไม่ส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงมากนัก ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบ เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน, เสาเข็มไอ, เสาเข็มรูปตัวที เป็นต้น และเสาเข็มตอกนั้น ยังสามารถรับน้ำหนักอย่างปลอดภัยได้ประมาณ 10-120 ตัน ต่อต้น
วิธีการตอกเสาเข็ม
ใช้ปั้นจั่นตอกลงไปในดิน โดยควรตอกเสาเข็มให้ลึก ไปจนถึงชั้นดินแข็ง หากตอกไม่ถึงอาจจะทำให้อาคารทรุดตัวได้ ซึ่งชั้นดินแข็งในกรุงเทพฯ โดยทั่วไปมีความลึกประมาณ 17-23 เมตร ถึงแม้ว่าการเจาะลึกถึงชั้นดินแข็งจะมีดีกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดคือ มีค่าใช้จ่ายที่สูงตามมาด้วย และส่วนสำคัญในการตอกเสาเข็มคือ ช่วงสุดท้ายของการตอก ต้องมีการตรวจสอบการตอก 10 ครั้งสุดท้าย ที่เรียกว่า Last 10 Blow หากมีการทรุดตัวมากเกินกว่าค่าที่กำหนดเอาไว้ นั่นหมายถึงว่ายังไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีพอ
Last 10 Blow (ลาสเท็นโบว์) หมายถึง ระยะจมของเสาเข็มในการทดสอบด้วยการตอก 10 ครั้ง ซึ่งจะต้องมีค่าไม่เกินกว่าที่คำนวณได้ จึงจะผ่านเกณฑ์
ลักษณะงานที่เหมาะกับเสาเข็มตอก
เหมาะกับพื้นที่ห่างไกล จากแหล่งชุมชน หรือบ้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เนื่องจากขณะตอกเสาเข็มนั้น จะมีแรงสั่นสะเทือน ส่งผลกระทบกับพื้นที่รอบข้าง ซึ่งอาจจะสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ใกล้เคียงได้
ข้อดีของเสาเข็มแบบตอก
- ราคาถูก เนื่องจากใช้เสาสำเร็จรูป ราคาไม่สูงเหมือนกับการใช้เสาเข็มแบบเจาะ
- ขั้นตอนไม่ซับซ้อน
- กำหนดขนาดเสาเข็มได้ตามความต้องการ
- พื้นที่ก่อสร้างไม่สกปรกเท่ากับแบบเจาะ
ข้อเสียเสาเข็มแบบตอก
- รับน้ำหนักได้น้อยกว่าเสาเข็มแบบเจาะ
- เสาเข็มอาจหักระหว่างการตอกได้
- เสียงดังและแรงสั่งสะเทือนรบกวนพื้นที่ข้างเคียง
- ไม่เหมาะกับพื้นที่แคบ
2. เสาเข็มแบบเจาะ
เสาเข็มเจาะ เป็นวิธีการที่มาช่วยแก้ปัญหาของเสาเข็มแบบตอก ที่มีข้อจำกัดในเรื่องการใช้งานในพื้นที่แคบและเสียงดังรบกวน ให้สะดวกมายิ่งขึ้น โดยใช้วิธีเจาะดินออกให้ลึกตามความต้องการและใช้ปลอกเหล็กป้องกันดินพัง ใส่เหล็กเสริม และเทคอนกรีตให้เต็มหลุม จนเป็นเสาเข็มภายในดิน มีทั้งเจาะแบบระบบแห้ง และเจาะแบบระบบเปียก
วิธีการตอกเสาเข็ม
ใช้วิธีเจาะดินออกให้ลึกถึงระดับที่ต้องการ แล้วใช้ปลอกเหล็กเพื่อป้องกันดินพัง แล้วใส่เหล็กเสริม ตามด้วยเทคอนกรีตให้เต็มหลุม มีทั้งการเจาะแบบแห้ง และเจาะแบบเปียก
ลักษณะงานที่เหมาะกับเสาเข็มเจาะ
เหมาะกับการทำงานในพื้นที่จำกัด งานในพื้นที่คับแคบ งานกับอาคารสูง ไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ใกล้เคียง หรือชุมชน
ข้อดีของเสาเข็มแบบเจาะ
- ลดแรงสั่นสะเทือน และเสียงรบกวน ที่เป็นข้อจำกัดของการตอกเสาเข็ม ใช้ในบริเวณชุมชนได้
- สามารถทำงานได้ทุกพื้นที่ แม้ในพื้นที่แคบ หรือพื้นที่ที่มีความสูงได้
- ลดการเกิดมลภาวะ
- เสาเข็มไม่แตกร้าวขณะก่อสร้าง
ข้อเสียเสาเข็มแบบเจาะ
- ราคาแพงกว่าเสาเข็มแบบตอก
- ต้องมีการขนส่งดินออกจากพื้นที่ก่อสร้าง
- ไม่สามารถตรวจสอบสภาพคอนกรีตที่แท้จริงของเสาเข็มได้ทั่วถึง เพราะอยู่ในหลุม หากช่างไม่มีความชำนาญอาจทำให้มีปัญหาดินพังทลายได้
- ไม่สามารถหล่อตัวเสาเข็มให้พ้นระดับพื้นดินขึ้นมาได้
ดังนั้นแล้ว ก่อนการเลือกใช้เสาเข็ม เจ้าของบ้าน ควรศึกษาถึงรูปแบบวิธีการตอกเสาเข็ม พร้อมทั้งรู้จักข้อดีและข้อเสียของแต่ละแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน และงบประมาณ ที่สำคัญต้องตรงตามมาตรฐานในการก่อสร้างในราคาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้โดนเอาเปรียบจากช่างรับเหมา และงบไม่บานปลายอีกด้วย
เสาเข็มตัน หรือ เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
หากสนใจ บริการถอดแบบ-คำนวณงบประมาณให้ฟรี