ส่งงาน แผ่นพื้นสำเร็จรูป อ.เมือง จ.สุรินทร์
กุมภาพันธ์ 21, 2023ส่งงาน เสารั้วลวดหนาม อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ
มีนาคม 9, 2023
เลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป กับการรับน้ำหนักบรรทุกจร
น้ำหนัก Live Load เท่าไหร่? และนำแผ่นพื้นไปใช้กับอาคารประเภทไหน? เป็นคำถามสำคัญ ที่เจ้าของบ้านจะต้องเจอเมื่อเลือกซื้อแผ่นพื้นสำเร็จรูป เพราะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้สามารถเลือกแผ่นพื้นสำเร็จรูปไปใช้งานได้ตรงตามประเภทของอาคารและสามารถรับน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้าน
น้ำหนักบรรทุกจร (Live Load : LL) คืออะไร?
น้ำหนักบรรทุกจร คือ น้ำหนักที่มีอยู่ในอาคารแบบไม่คงที่ หรือเป็นแค่น้ำหนักชั่วคราว ซึ่งจะหมายถึงวัสดุและรวมไปถึงสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนย้ายได้ ทั้งคนและสัตว์ ซึ่งโดยปกติแล้วงานโครงสร้างได้ถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักได้ตามกำหนดประเภทการใช้งานของอาคาร ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
จากตารางการรับน้ำหนักของแผ่นพื้น จำเป็นต้องพิจารณาว่าเป็นแบบมีค้ำยัน หรือไม่มีค้ำยันด้วย เนื่องจากว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูปนั้นมีความหนาเพียง 5 ซม. รวมกับการเทท้อปปิ้งทับหน้าลงไปอีก 5 ซม. เป็น 10 ซม. เมื่อมีการวางแผ่นพื้นจริงๆ จึงต้องมีการวางค้ำยันชั่วคราวเพื่อรองรับการแอ่นของแผ่นพื้นจากน้ำหนักต่างๆ ระหว่างการก่อสร้าง
น้ำหนักบรรทุกปลอดภัย ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร เป็นพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่อง หน่วยน้ำหนักบรรทุกจรสำหรับประเภทและส่วนต่าง ๆ ของอาคาร นอกเหนือจากน้ำหนักของตัวอาคาร หรือเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อย่างอื่น ให้คำนวณโดยประมาณเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าอัตรา ดังต่อไปนี้
การเลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปตามน้ำหนักบรรทุกจร
เมื่อทราบน้ำหนักบรรทุกจรแล้ว ก็สามารถเลือกขนาดความยาวของแผ่นพื้น และจำนวนของเส้นลวดได้เลยตามตารางการรับน้ำหนัก ซึ่งขนาดความยาวของแผ่นพื้นมีความสัมพันธ์กับการรับน้ำหนัก จากตารางจะเห็นได้ว่าแผ่นพื้นที่มีความยาวน้อยจะสามารถรับน้ำหนักได้ดีกว่า แผ่นพื้นที่มีความยาวมาก
ยกตัวอย่าง เช่น แผ่นพื้นสำเร็จรูป ยาว 1 เมตร สามารถรับน้ำหนักบรรทุกจรที่กระทำต่อโครงสร้างได้มากสุดถึง 800 กก./ตร.ม. เมื่อเทียบกับแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีความยาว 3.00 เมตร ที่เสริมลวด 5 เส้นเท่ากัน รับน้ำหนักได้เพียง 400 กก./ตร.ม. เท่านั้น
เลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปเสริมลวดกี่เส้นดี?
แผ่นพื้นสำเร็จรูป หรือเรียกอีกอย่างว่า แผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงท้องเรียบ (Pre-Stressed Concrete Slab) เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาด 0.35×0.05 ม. ความยาวตั้งแต่ 0.5 – 5 ม. เสริมเหล็กลวดอัดแรง PC Wire แบบ 5 เส้น โดยมีขนาดของเส้นศูนย์กลางเหล็กลวด 4 มิล เป็นชนิดรับแรงดึงสูง
กรณีที่หน้างานมีความจำเป็นต้องใช้แผ่นพื้นที่ค่อนข้างยาว และต้องรับน้ำหนักบรรทุกจรที่กระทำต่อโครงสร้างมาก มีความจำเป็นต้องเพิ่มขนาดเส้นลวดเพิ่มเข้าไปอีกเพื่อให้มีความสามารถในการรับน้ำหนักได้เพียงพอ
ยกตัวอย่าง เช่น
- ต้องการใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป ยาว 2.00 เมตร ใช้รับแรงบรรทุก 800 กก./ตร.ม. สามารถใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป แบบลวด 5 เส้น (เลข 5 ในตาราง) ไม่จำเป็นต้องเสริมลวดก็สามารถรับน้ำหนักบรรทุกจรที่กระทำต่อโครงสร้างได้อย่างเพียงพอ
- ต้องการใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป ยาว 3.50 เมตร ใช้รับแรงบรรทุก 500 กก./ตร.ม. จำเป็นต้องผลิตเสริมลวดเพิ่มเข้าไปเป็น 7 เส้น (เลข 7 ในตาราง) จากเดิมที่มี 5 เส้น (เลข 5 ในตาราง) ตามสัญลักษณ์ในตาราง
- ต้องการใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป ยาว 4.00 เมตร ใช้รับแรงบรรทุก 300 กก./ตร.ม. จำเป็นต้องผลิตเสริมลวดเพิ่มเข้าไปเป็น 6 เส้น (เลข 6 ในตาราง) จากเดิมที่มี 5 เส้น (เลข 5 ในตาราง) ตามสัญลักษณ์ในตาราง
เลือกใช้แผ่นพื้นตามประเภทของอาคาร
แผ่นพื้นสำเร็จรูป แบบ ลวด 5 เส้น
- แบบมีค้ำยัน แผ่นพื้นยาว 2 - 3 เมตร รับน้ำหนักบรรทุกจรได้ 921-2,413 กก./ตร.ม.
- แบบไม่มีค้ำยัน ยาว 2 - 2.75 เมตร รับน้ำหนักบรรทุกจรได้ 886 - 2,413 กก./ตร.ม.
ประเภทอาคารที่รับน้ำหนักได้ เช่น
- หลังคา
- พื้นกันสาด หรือ พื้นหลังคาคอนกรีต
- ที่พักอาศัย โรงเรียนอนุบาล ห้องน้ำ ห้องส้วม
- ห้องแถว ตึกแถว อาคารชุด หอพัก โรงแรม สำนักงาน ธนาคาร
- อาคารพาณิชย์ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน
- ห้องโถง บันได และช่องทางเดินอาคาร หอพัก โรงแรม โรงพยาบาล สำนักงาน ธนาคาร
- ตลาด ห้างสรรพสินค้า หอประชุม ภัตตาคาร ห้องอ่านหนังสือในหอสมุด ที่จอดรถ/เก็บรถยนต์
- ห้องโถง บันไดและช่องทางเดินอาคารพาณิชย์ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน
- คลังสินค้า โรงกีฬา พิพิธภัณฑ์ อัฒจันทร์ โรงพิมพ์ โรงงานอุตสาหกรรม ห้องเก็บเอกสารและพัสดุ
- ห้องโถงบันได ช่องทางเดินของตลาด ห้างสรรพสินค้า หอประชุม โรงมหรสพ ภัตตาคาร และหอสมุด
- ห้องเก็บหนังสือของหอสมุด
- ที่จอดรถหรือเก็บรถยนต์บรรทุกเปล่าและรถอื่นๆ
แรงลมที่กระทำต่ออาคาร
- ส่วนของอาคารที่สูงไม่เกิน 10 เมตร
- ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 10 เมตร แต่ไม่เกิน 20 เมตร
- ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 20 เมตร แต่ไม่เกิน 40 เมตร
- ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 40 เมตร
แผ่นพื้นสำเร็จรูป แบบ ลวด 5 เส้น แบบมีค้ำยัน ความยาว 3.25 เมตร รับน้ำหนักบรรทุกจรได้ 694 กก./ตร.ม. สามารถรับน้ำหนักอาคารได้ทุกประเภท **ยกเว้น ที่จอดรถ หรือ เก็บรถยนต์บรรทุกเปล่า และรถอื่นๆ เพราะมีน้ำหนักบรรทุกจร 800 กก./ตร.ม.
แผ่นพื้นสำเร็จรูป แบบ ลวด 5 เส้น แบบมีค้ำยัน ยาว 3.50 เมตร รับน้ำหนักบรรทุกจรได้ 515 กก./ตร.ม. สามารถรับน้ำหนักอาคารได้ทุกประเภท **ยกเว้น ห้องเก็บหนังสือของหอสมุด และ ที่จอดรถ หรือ เก็บรถยนต์บรรทุกเปล่า และรถอื่นๆ เพราะมีน้ำหนักบรรทุกจร 600-800 กก./ตร.ม.
หากสนใจ บริการถอดแบบ-คำนวณงบประมาณให้ฟรี
☎️ สนใจปรึกษาได้เลย โทร. 061-436-2825 , Line ID : @eoncrete
🚛 พร้อมส่งอุบล ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์ และทั่วอีสาน
📌 พิกัดร้านค่ะ : https://goo.gl/maps/qpdJGrKn7zDDkqx78