ส่งงาน เสารั้วลวดหนาม ต.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
กรกฎาคม 1, 2022ส่งงาน รั้วคาวบอย ต.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
กรกฎาคม 4, 2022
กำแพงกันดินมีกี่รูปแบบ? ใช้งานแบบไหนบ้าง?
กำแพงกันดินคืออะไร?
กำแพงกันดิน (Retaining Wall) เป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถต้านทานแรงดันจากมวลดิน แรงกดทับต่างๆตามธรรมชาติ ทั้งน้ำ และดินโคลน จากระดับดินที่ต่างกัน ช่วยป้องกันการพังทลายของดิน ที่จะก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายตามมา โดยโครงสร้างของผนังกันดินได้รับการออกแบบให้มีความทนทานและแข็งแรงเป็นพิเศษตามหลักวิศวกรรมและมีหลายรูปแบบตามการใช้งาน
กำแพงกันดินจะถูกใช้เมื่อไหร่?
กำแพงกันดินจำเป็นต้องใช้ก็ต่อเมื่อต้องการกั้นพื้นที่ 2 พื้นที่ ที่มีระดับต่างกันสูงถึง 1 เมตร ขึ้นไป ก็จำเป็นจะต้องทำกำแพงกันดินเพื่อป้องกันไม่ให้ดินไหลและสร้างความเสียหายให้กับฝั่งที่ดินต่ำกว่า เช่น พื้นที่บ้านที่ติดกับพื้นที่ข้างบ้านมีระดับต่างกัน หรือ บ้านที่อยู่ติดกับที่นา เป็นต้น นอกจากกันดินในพื้นที่มีระดับต่างกันแล้ว กำแพงกันดินยังถูกใช้ในการกั้นริมตลิ่ง ถนนติดริมตลิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ถนนพังลงแม่น้ำ แต่หากพื้นที่เท่ากันก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำกำแพงกันดินแต่อย่างใด
กำแพงกันดินมีกี่รูปแบบ?
เมื่อทราบแล้วว่าบ้าน หรือพื้นที่ของท่านมีความจำเป็นต้องทำกำแพงกันดิน แต่ยังไม่แน่ใจว่าต้องทำกำแพงกันดินแบบไหน? เพราะว่ากำแพงกันดินนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งถูกแบ่งตามลักษณะพื้นที่ การใช้งาน โดยพิจารณาจากลักษณะดินและพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน ดังนี้
1. กำแพงกันดินแบบถ่วงน้ำหนัก (Gravity wall)
เป็นกำแพงกันดินรูปแบบมาตรฐาน และได้รับความนิยม ถูกใช้ในยุคแรกๆ
ลักษณะการทำงาน:
มีลักษณะของกำแพงที่มีความหนาขนาดใหญ่และน้ำหนักที่ต้องมากเพียงพอที่จะถ่วงน้ำหนัก ต้านทานแรงดันดินไม่ให้ดินมีการเคลื่อนตัว
เหมาะกับความสูงประมาณ 1-5 เมตร ใชัหลักการถ่วงน้ำหนัก โดยใช้น้ำหนักของกำแพงที่ต้องมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากในการต้านแรงดันจากดินไม่ให้ฐานมีการเคลื่อนตัว หรือไม่ให้กำแพงล้ม
การใช้งาน:
เนื่องจากต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ จึงไม่เหมาะกับการใช้ในบ้าน เหมาะกับงานสาธารณูปโภค เขื่อนขนาดใหญ่ ฝายกั้นน้ำ ตลิ่งน้ำ เป็นต้น
2. กำแพงกันดิน (Piling wall)
กำแพงกันดินรูปแบบนี้ ส่วนมากแล้วจะใช้เหล็กชีทไพล์ (Steel Sheet Piles) ตอกเป็นเสาเข็ม ใช้พื้นที่น้อย ทำงานได้สะดวก แต่ราคาค่อนข้างสูง
ลักษณะการทำงาน:
เป็นลักษณะการตอกเสาเข็มให้ถี่และเสียบลงไปตามแนวของกำแพง สมัยก่อนอาจจะใช้เป็นเสาไม้ตอกลงไป แต่ในปัจจุบันนี้นิยมใช้เป็นเสาคอนกรีตแทน
โดยการตอกเสาเข็มตามแนวกำแพง ใช้แรงต้านจากดินที่ต่ำกว่าทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อรับแรงดันจากดินที่สูงกว่า
การใช้งาน:
เหมาะสำหรับป้องกันดินสไลด์ตามแนวตลิ่ง และงานฐานรากชั้นใต้ดินของอาคารขนาดใหญ่
Tips: เหล็กชีทไพล์ (Steel Sheet Piles) มักใช้เรียงกันเป็นพืด เพื่อกั้นดิน มักใช้กับงานก่อสร้างถนน หรือการสร้างกำแพงกันดิน เป็นเหล็กเข็มพืดรีดร้อน เหมาะที่จะนำมาทำโครงสร้างในลักษณะกำแพงที่ต้องรับแรงมากๆ
3. กำแพงกันดิน (Cantilever Wall)
เป็นรูปแบบที่ถูกพัฒนาต่อยอดจาก Gravity Wall มีจุดประสงค์การใช้งานเหมือนกันคือ ป้องกันดินถล่ม ดินสไลด์ ตามแนวตลิ่ง หรือเชิงเขา โดยมีความแตกต่างกันตรงที่จะมีความแข็งแรงกว่า และรับแรงดันได้ดีกว่าแบบ Gravity Wall
ลักษณะการทำงาน:
รูปแบบคล้ายกับแบบ Gravity Wall แต่จะมีคานยื่นเพิ่มที่ด้านล่าง ใช้ในกรณีกำแพงที่มีความสูงประมาณ 2-10 เมตร โดยคานด้านล่างที่ยื่นเข้าไปในฝั่งดินที่มีระดับสูงกว่า
จะทำให้น้ำหนักจากดินที่สูงกว่าช่วยกดทับให้คานด้านล่างถ่วงน้ำหนักไม่ให้กำแพงล้ม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกันดินให้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใช้เสาเข็ม
การใช้งาน:
มักใช้สำหรับการป้องกันดินสไลด์ และดินถล่ม ตามแนวตลิ่ง และแนวเชิงเขา
4. กำแพงกันดิน (Anchored Wall)
ลักษณะการทำงาน:
ลักษณะพิเศษของกำแพงรูปแบบนี้คือ มีการใช้สมอเข้ามาเป็นตัวช่วยในการยึดกำแพง แล้วใช้สมอเพื่อเป็นแรงต้านให้กำแพงช่วยไม่ให้กำแพงล้ม
และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกำแพงกันดินรูปแบบอื่นๆได้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น
การใช้งาน:
มักใช้สำหรับงานผนังหินตามถนน และใช้ในงานถนนต่างๆ
บทบาทกำแพงกันดินสำเร็จรูป (Retaining Wall Block)
ปัจจุบันมักประสบปัญหาแรงงานที่ไม่เพียงพอ ถือเป็นปัญหาหลักของงานก่อสร้างที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก หลายๆโครงการทำงานได้ล่าช้ากว่ากำหนด ส่งผลให้ต้นทุนบานปลายได้
จึงได้มีการเลือกใช้ กำแพงกันดินสำเร็จรูป หรือ กำแพงกันดินแบบหล่อสำเร็จ ที่เข้ามามีบทบาทในงานก่อสร้าง และมีจุดเด่นที่น่าสนใจ ดังนี้
- ผลิตจากโรงงานที่ควบคุมมาตรฐานการผลิตได้ดีกว่าการขึ้นแบบ
- ทั้งติดตั้งสะดวก
- เคลื่อนย้ายได้ง่าย
- ช่วยประหยัดเวลา
- ลดต้นทุนการก่อสร้างไม่ทำให้งบบานปลาย
- ได้รับความนิยมอย่างมากในท้องตลาด
✨ชุดกำแพงกันดิน คือแผ่นพื้นสำเร็จรูปเสียบเข้ากับเสาเข็มไอ เพื่อกันดินที่ถมสูงถล่ม
หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ราคาเสาเข็มไอ และ ราคาแผ่นพื้นสำเร็จรูป สามารถเช็คราคาได้ทางหน้าเว็บไซต์ได้เลย
บริษัท วันเอ็ม จำกัด บริการถอดแบบ-คำนวณงบประมาณให้ฟรี
☎️ สนใจปรึกษาได้เลย โทร. 061-436-2825 , Line ID : @eoncrete
🚛 พร้อมส่งอุบล ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร
ร้อยเอ็ด สุรินทร์ บุรีรัมย์ และทั่วอีสาน
พิกัดร้านค่ะ : https://goo.gl/maps/qpdJGrKn7zDDkqx78